เมนู

4. สมาธินทรีย์ อินทรีย์ คือ สมาธิ
5. ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ คือ ปัญญา.

[301] นิสสารณียธาตุ 5


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการ
ถึงกามทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ
ในเพราะกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อม
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นไป
ดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย
และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย
ซึ่งมีกามเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า
เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย.
2. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยิ่งมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความ
พยาบาทอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษใน
เพราะความพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อม
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่พยาบาท จิตของเธอ
นั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความ
พยาบาท และ เธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุเดือดร้อน
กระวนกระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท.
3. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความ
เบียดเบียนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษใน
เพราะความเบียดเบียน แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล

จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่เบียดเบียน
จิตของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว
จากความเบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุ
เดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอ
ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความ
เบียดเบียน.
4. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูป
ทั้งหลายอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษใน
เพราะรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะรูป จิตของเธอนี้ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากรูปทั้งหลาย และเธอพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีรูปเป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่อง
สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกาย
ของตนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะ
กายของตน แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อม
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความดับแห่งกายของตน จิต
ของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว
จากกายของตน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน
กระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา
นั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกายของตน.

[302] วิมุตตายตนะ 5


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี
รูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้. ภิกษุนั้นรู้แจ้งอรรถ และรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่
พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู
แสดงแก่เธอ. ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วย
ปีติ ย่อมสงบระงับเธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของ
เธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่หนึ่ง
2. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา หรือเพื่อน
สพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
เลย แต่เธอแสดงธรรมตามที่ได้ฟังแล้วตามที่ได้เรียนแล้วแก่คนอื่น ๆ โดย
พิสดาร . . .
3. เธอกระทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังแล้วตามที่ได้เรียน
แล้วโดยพิสดาร ฯลฯ
4. เธอตรึกตรองด้วยใจ เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังแล้ว
ตามที่ได้เรียนแล้ว ฯลฯ
5. แต่ว่า เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจ
ด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา. ภิกษุนั้นย่อมรู้
แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ได้เรียนสมาธินิมิ
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี
ด้วยปัญญา. ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความ